เมนู

ภูมิ 3 นั้น จึงไม่ยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี. ส่วนโลกุตระทั้งหลาย เมื่อ
ศรัทธานั้น เมื่อวิริยะนั้น เมื่อสตินั้น เมื่อสมาธินั้น เมื่อปัญญานั้น ยังไม่
เข้าไปสงบ (คือยังเป็นไป) ก็ย่อมได้วิบากในลำดับแห่งมรรคนั้นนั่นแหละ
ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนั้น โลกุตรกุศลนั้นจึงอาจยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี.
เหมือนอย่างว่า ในที่ที่เขาก่อไฟไว้กองน้อย เมื่อไฟดับแล้วเท่านั้น
อาการร้อนก็ดับไม่มีอะไร ๆ แต่เมื่อเอาโคมัยโปรยไปรอบ ๆ ดับกองไฟใหญ่ที่
โพลงขึ้นแล้ว อาการคือความร้อน ย่อมไม่สงบลงทันที ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คือ ขณะแห่งกรรม (การทำ) ในกุศลเป็นไปในภูมิ 3 เป็น
อย่างหนึ่ง ขณะแห่งวิบากเป็นอย่างหนึ่ง เหมือนเวลาที่อาการคือความร้อน
ดับไปแห่งไฟกองน้อย เพราะฉะนั้น กุศลอันเป็นไปในภูมิ 3 นั้นจึงไม่อาจ
เพื่อยังวิบากของจนให้ได้อธิบดี ส่วนโลกุตรกุศล เมื่อศรัทธานั้น ฯลฯ เมื่อ
ปัญญานั้นยังไม่เข้าไปสงบ ผลก็เกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคทันที เพราะฉะนั้น
โลกุตรกุศลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อธิบดีไม่มีในวิบากจิต
เว้นแต่โลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยอัญญาตาวินทรีย์ในโลกุตรวิบากดวงที่ 4


พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งผลซึ่งเกิดแต่มรรคที่ 4 ต่อไป
คำว่า อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ
ผู้มีญาณกิจสำเร็จในสัจจะ 4 อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะให้สำเร็จ
อรรถแห่งความเป็นใหญ่ในภายในธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึง คือมีกิจอันสำเร็จใน
สัจจะ 4 อันรู้แล้ว แทงตลอดสัจจะ 4 แล้วดำรงอยู่.

แม้ในนิทเทสวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น คำว่า รู้ทั่วถึงแล้ว ได้แก่
รู้แล้วดำรงอยู่. คำว่า ธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในภายในแห่งสัมปยุตธรรม
ทั้งหลาย. บทว่า อญฺญา (ความรู้ทั่ว) ได้แก่ ความรู้ทั่วถึง. คำว่า ความรู้ชัด
กิริยาที่รู้ชัด
เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า มคฺคงฺคํ
มคฺคปริยาปนฺนํ
(องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค) อธิบายว่า เป็นองค์-
มรรคในผล และนับเนื่องในองค์มรรคในผล.
อีกอย่างหนึ่ง ในโลกุตรวิบากนี้ มีปกิณกะดังนี้
อินทรีย์ถึงฐานะเดียวมีอย่างหนึ่ง อินทรีย์ถึงฐานะหกมีอย่างหนึ่งและ
อินทรีย์ถึงฐานะเดียวมีอีกอย่างหนึ่งมีอธิบายว่า ก็อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
อย่างเดียวถึงฐานะหนึ่ง
คือ โสดาปัตติมรรค. อัญญินทรีย์หนึ่งถึงฐานะ
6 คือ ผลเบื้องต่ำ 3 มรรคเบื้องบน 3. อัญญาตาวินทรีย์หนึ่ง ถึงฐานะหนึ่ง
คือ อรหัตผล.
ว่าโดยอรรถในมรรคและผลทั้งหมด ได้ตรัสอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ
ไว้ 64 คือ มรรคและผลอย่างละ 8 อินทรีย์ แต่ในพระบาลีเป็นอินทรีย์ 72
เพราะทำมรรคและผลอย่างละ 9 อินทรีย์. ในมรรคก็ตรัสว่า มัคคังคะ
(องค์แห่งมรรค) แม้ในผลก็ตรัสว่า มัคคังคะ (องค์แห่งมรรค). ในมรรค
ตรัสว่า โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) แม้ในผลก็ตรัสว่า โพชฌงค์.
แม้ในขณะแห่งมรรคก็ตรัสว่า อารติ วิรตี (ความงดเว้น ). แม้ในขณะแห่ง
ผลก็ตรัสว่า อารติ วิรตี.
บรรดามรรคและผลเหล่านั้น มรรค ชื่อว่า มรรค โดยความเป็น
มรรคนั่นเอง. ส่วนผล ชื่อว่า มรรค เพราะอาศัยมรรค. แม้จะกล่าวว่า องค์
แห่งผลนับเนื่องในผล
ดังนี้ก็ควร.

ในมรรค ตรัสเรียกว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์
แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. ในผล ตรัสเรียกว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
เป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้แล้ว. ในมรรค ตรัสว่า อารติ วิรตี ด้วยอำนาจ
ความงดเว้นอารมณ์นั่นเอง. ในผล ตรัสว่า อารติ วิรตี ด้วยอำนาจความ
งดเว้นนั่นแหละ.
กถาว่าด้วยโลกุตรวิบาก จบ

อกุศลวิบากอัพยากฤต


[472] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ
โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา ที่รสเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น